วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กรณีศึกษา ร้านอาหารถูกบุกจับ ข้อหาเผยแพร่ภาพโดยไม่ได้รับอนุญาติ ลิขสิทธิ์RS (อ่าน 1012 ครั้ง)

กรณีศึกษา ร้านอาหารถูกบุกจับ ข้อหาเผยแพร่ภาพโดยไม่ได้รับอนุญาติ ลิขสิทธิ์RS  (อ่าน 1012 ครั้ง)
อย่าจ่ายเงินให้มันเด็ดขาด มันลักไก่ มันไม่มีเอกสารมอบสิทธจากทรุ มันไม่มีเอกสารมอบสิทธจากค่ายเพลง
หากเปิดรายการจากทรูจริงให้มันไปจับทรู เราไม่เกี่ยว บอกไปเลยกูไม่จ่าย พวกนี้มันจ้องจะเอาเงินสด แบบที่ว่าตกลงกันข้างนอกได้เท่าไหร่มันก็เอาแต่เวลาขึ้นศาลมันกลัวเกือบทุกรายรอดหมด อย่าไปกลัวมัน เวลาตอนโดนจับ**กรุณาขอดูหมายค้นด้วยให้ดูแบบละเอียดด้วยว่าเจาะจงมาค้นร้านเราไหม ดูวันที่ด้วย ค่อยๆตั้งสติอย่าไปกลัวมันมาก ถ้าคิดไม่ออกก็โทรหาคนที่พอรู้กฎหมายให้เขาช่วย รับรองมันหนีแน่ๆ หรือแจ้งตำรวจท้องที่ให้มารับทราบด้วยจะเป็นการดีที่สุด  เจอมาแล้วขึ้นศาลมาแล้วยกฟ้องครับ
 - ไล่ออกจากร้านเลย ขู่ว่าไม่ออกแจ้งบุกรุก
 - โทรเรียกพวกมาเยอะ  อยู่คนสองคนมันจะขู่เราจนฟังไมทัน
 - ไม่มีพวก โทร 191 เอาตำรวจท้องที่มา แจ้งว่ามีคนมาข่มขู่รีดไถงิน กลัวถูกทำร้าย ใหผู้หญิงโทรยิ่งดี
 - โทรเช็คกับเจ้สของลิขสิทธิ์หรือ บริษัทเพลง บอกว่าซื้อลิขสิทธิ์ถูกต้องแล้วทำไมโดนจับ(แม้ว่าจะไม่ใช่สินค้าลิขสิทธ์ถูกต้องก็ช่าง) บอกชื่อคนที่มาจับให้ตรวจสอบ
 - คนที่มาแจ้งจับต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากจ้าของลิขสิทธิเป็นชื่อตัวเอง และป็นฉบับจริง และมอบอำนาจต่อไม่ได้ด้วยครับ  ถ้าไม่เป็นตามนี้ก็ไม่มีผลครับ เรื่องแบบนี้       ไมต้องกลัว ไม่แน่ใจก็เรียกทนาย ไม่แพงครับ
จริงๆแล้ว การจะทำอะไรกับรายการที่มีลิขสิทธิ์ทั้งหลายนอกเหนือจากการรับชมส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นฟรีทีวี หรือ เคเบิลทีวี จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นๆซะก่อน จึงจะเผยแพร่ได้ ถ้าเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่ใส่ใจ ก็คงไม่เป็นไร ตรงนี้ก็จะเป็นจุดอ่อน สำหรับร้านอาหาร หรือโรงแรม หรือสถานที่อื่นๆที่หาผลประโยชน์ได้  ทันที เพราะจะเกิดกรณีการถูกจับกุม ทั้งโดย ตัวแทนรับมอบอำนาจมาจริง หรือผู้แอบอ้าง เพื่อหาผลประโยชน์ อยู่เรื่อยๆ คดีลักษณะนี้ เป็นทั้งคดีแพ่ง และ คดีอาญา
คดีอาญา เป็นความผิดต่อส่วนตัว สามารถยอมความกันได้
คดีอาญา ถ้ามีการแจ้งความ ตำรวจเป็นผู้ดำเนินคดี แล้วส่งอัยการเพื่อสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง หรือผู้เสียหายอาจฟ้องเองก็ได้
ส่วนทางแพ่ง ผู้เสียหายต้องฟ้องเอง
ที่คุณ jay โพสมา ยังไม่ละเอียด ไม่แน่ใจว่า ค่าปรับที่ว่านั้นเป็น ค่าปรับของคดีอาญา หรือไม่
หรือที่มีผู้แนะนำอื่นๆ ก็เพียงรับฟังไว้เป็นข้อมูล ไม่สามารถอ้างอิงว่าจะเป็นแบบนั้นทุกกรณี เพราะแต่ละคดี รายละเอียดจะไม่เหมือนกัน
ถ้าเป็นกรณีแอบอ้าง อยากให้ผู้ที่เจอแบบนี้ แจ้งความดำเนินคดีกับผู้แอบอ้าง ฐานขู่กรรโชกทรัพย์ ด้วย เพราะผู้แอบอ้างไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่งั้นก็จะเป็นแบบนี้อยู่เรื่อยๆ

ผมเคยเห็นกรณีตัวอย่าง บางที่นะครับ พวกนี้ส่วนมากมันจะเรียกร้องเงินสดเพื่อให้จ่าย ณ โรงพัก ที่เกิดเหตุ ไม่น่าต่ำกว่า สี่หมื่น บาท ครับ และตำรวจที่มาส่วนมาก เขาจะติดต่อตำรวจจากนอกพื้นที่มาเข้าจับกุม แล้วนำไปลงบันทึกประจำวัน ณ โรงพัก ท้องที่ นั้นๆ ถ้ายอมจ่าย และลงบันทึกประจำวัน ทุกอย่างจบ ส่วนผู้บริโภครายต่อไป รอโดน เหมือนกัน  แต่ถ้าไม่ยอมจ่าย ก็เป็นเรื่องยาว คือ ผู้ถูกกล่าวหา ยินดีจะสู้คดีในชั้นศาล โดยแต่งตั้งทนายว่าความให้ สรุปแล้ว เมื่อเสร็จคดี ผู้ถูกกล่าวหา จ่ายน้อยกว่า ที่ถูกเรียกร้องตอนเกิดเหตุเยอะ (ส่วนพวกที่แสดงตัวเป็นผู้ดูแลลิขสิทธิ์ ถ้าเลือกได้ พวกนี้ หลีกเลี่ยงที่จะให้เรื่องถึงศาลครับ......แน่นอน)   ส่วนกรณี ที่ท่านท็อปแมน กล่าวมา จานถูกติดตั้ง โดย ตัวแทน ทรูวิชั่น ในพื้นที่อยู่แล้ว  แล้ว หน่วยติดตั้ง ก็รู้แล้วว่าสถานที่นี้คือที่ไหน ผมรับรองว่า นักกฏหมาย ถ้าได้อ่าน เรื่องราวทั้งหมด นี่ เขายิ้มเลย แน่นอนครับ    ผมขอแนะนำ ให้สู้ครับ  ชัวร์ " นอกเสียจากพวกที่อ้างว่าเป็นตัวแทนฯ จะขอให้ลดค่าปรับ ลงมาต่ำกว่าหมื่น ค่อยว่ากัน อีกที   แต่ถ้าต้องการความสะใจ หรือต่อสู้แทนผู้บริโภครายอื่นๆ น่ะ ผมขอให้กำลังใจครับ  หลายๆองค์ประกอบที่ท่าน กล่าวมา เป็นใจ และเข้าทาง ให้ร้านอาหารนี้แน่นอนครับ )   สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ   ครับ

ข้อหาที่โดนกล่าวหาคือ เผยแพร่ภาพและเสียงที่มีลิขสิทธิ์ โดยมิได้รับอนุญาติ มีการ เรียกร้องเงิน จำนวน หนึ่ง(ไม่ขอเปิดเผย เพื่อแลก กับการ ไม่ถูกฟ้องร้อง ) ภาพและเสียงที่บันทึกจากเจ้าหน้าที่ ถูกบันทึกลง CD ให้กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ อยู่ในขั้น เรียกมาตกลงกัน หรือ ฟ้องศาล ในขั้นต่อไป น่าจะบันทึกเสียงตรงนี้ไว้ด้วยนะตอนคุยกัน ย้อนเกร็ดเลยท่าน กรณีนี้ให้ไปจบกระบวนการในชั้นศาลครับท่าน โดยในชั้นเจ้าพนักงานสอบสวนขอให้บอกว่าจะไปให้การในชั้นศาลครับ ศาลท่านจะใช้ดุลยวินิจในการตัดสินครับ โทษสูงสุดน่าจะแค่รอลงอาญาในกรณีที่เราผิด และก็ปรับ ไม่เกิน 2,000 บ. และบางทีก็ไม่เสียถ้าไม่ผิด แล้วแต่กรณี

ร้านเกมก็โดนแบบนี้กันบ่อยๆครับ เป็นธรรมดาครับ ถ้าสู้คดี จะมีทางรอดมากกว่า เพราะเอาเข้าจริง วันศาลนัด ทางฝ่ายลิขสิทก็ไม่มาครับ มีมาหลายรายและเขาจะเอาตัง รายใหนที่สู้คดี นานไปเขาเห็นว่าไม่คุ้ม เขาก็ไม่สู้ครับ ไม่มาศาลซะงั้นไม่มานั่งฟ้องหลอกครับ!! รองสู้คดีดูดีกว่าครับ ศาลน่าจะสังปรับไม่มากเท่าที่เขาเรียก ผมเองก้เคยโดนมากับตัวเองแต่ไม่ขอเล่าดีกว่า เอาเป็นว่าปล่อยให้มันไปฟ้องร้องเอาขึ้นศาลเสียค่าปรับไม่เกิน2000 บางทีก้ไม่เสียครับอยู่ที่ดุลพินิจของศาล แต่ส่วนมากแล้วมันจะไม่ไปขึ้นศาล เสียเวลา ไปรีดไถ่คนอื่นดีกว่าเผื่อฟลุคได้ ไอ้พวกนี้มันต้องเจอแบบเพื่อนผมรถตัวแทน มันจอดหน้าโรงพักแท้ๆออกมากระจกแตกบุบทั้งคัน ตำรวจเห็นเต็มๆยังบอกไม่เห็นเลย ตำรวจเข้าข้างประชาชนเพราะเขาเบื่อพวกนี้

เทคนิควิธีการป้องกันตนเองจากการตรวจค้นจับกุมร้านอินเตอร์เน็ตและร้านเกมส์
เนื่องจากในช่วงนี้มีผู้ประกอบการจานวนมากมีปัญหากับการตรวจค้นจับกุมร้านอินเตอร์เน็ตและร้านเกมส์ และหลายๆ ท่านไม่ทราบว่าควรปฏิบัติตัวเช่นไร ซึ่งจากจุดนี้เองทาจึงเกิดเป็นช่องว่างกับเหล่ามิจฉาชีพให้เข้ามาหากินกับ ผู้ประกอบการโดยใช้วิธีการที่ผิดกฎหมาย วันนี้มีผู้ที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายท่านหนึ่ง มองเห็นความไม่ถูกต้องในเรื่องเหล่านี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลและส่งบทความเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อโดนตรวจค้นมายังทีมงาน ซึ่งทางทีมงานเห็นว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์กับผู้ประกอบการท่านอื่น จึงขอนาเสนอให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ

วีธีป้องกันตนเอง เมื่อเจ้าหน้าที่ตารวจพร้อมทีมนาจับ เข้าตรวจค้นจับกุมร้านอินเตอร์เน็ตและร้านเกมส์
1. ท่านต้องตั้งสติให้มั่น อย่าหวั่นไหว หรือ ตื่นเต้นจนเกินไป เรียกเพื่อนๆหรือ ญาติ ให้ชวนกันมาที่ร้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ ยิ่งเยอะยิ่งดี และ ติดต่อผู้รู้ หรือนักกฎหมาย ให้มาที่ร้าน หรือ โทรฯปรึกษาโดยทันที
2. อ่านเอกสารที่เจ้าหน้าที่และทีมนาจับนามา ซึ่งจะต้องมีเอกสารดังนี้
2.1 หมายศาล ซึ่งเป็นหมายค้น ในหมายศาลจะต้องอ่านดูว่า วันที่ในหมายศาล หมดกาหนดหรือยัง (เพราะโดยปกติ ศาลจะไม่ออกหมายศาลเป็นเวลาหลายๆวัน) สถานที่ให้เข้าค้น ชื่อร้านถูกต้องหรือตรงกับร้านเราหรือไม่ บ้านเลขที่ถูกต้องหรือตรงกับร้านเราหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ท่านปฏิเสธการเข้าตรวจค้น ถ้ายังไม่ยอมจะเข้ามาในร้าน ให้โทรศัพท์แจ้งตารวจท้องที่ทันที
2.2 บัตรประจาตัวเจ้าหน้าที่ตารวจ,บัตรประจาตัวผู้รับมอบอานาจ,บัตรประจาตัวผู้ รับมอบอานาจช่วง(ถ้ามี) รูปในบัตรกับตัวจริงต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน และตรงกับที่ระบุในหมายศาล ท่านต้องยอมให้บุคคลดังกล่าวเข้ามาในร้านได้ แต่เฉพาะ บุคคลที่มีรายชื่อในหมายศาลเท่านั้น
2.3 อ่านข้อกล่าวหาว่า มาค้นในเรื่องอะไร เช่นเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ ดูในรายละเอียดว่า ลิขสิทธิ์โปรแกรมซอฟแวร์อะไร ลิขสิทธิ์เกมส์อะไร หรือลิขสิทธิ์เพลงอะไร เพื่อที่จะทราบในขั้นต้นว่า เรามีโปรแกรม หรือ ซอฟแวร์อะไร ที่เขาจะตรวจค้นเราหรือไม่
2.4 ดูการมอบอานาจว่าถูกต้องหรือไม่ การมอบอานาจช่วง ต้องไม่ขาดตอน ถ้าขาดตอนการมอบอานาจก็ไม่ถูกต้อง การค้นตามหมายศาลก็ไม่ถูกต้อง ท่านมีสิทธิที่ไม่ยอมให้ตรวจค้นได้
3. หลังการตรวจค้น ไม่ว่าจะพบ หรือ ไม่พบการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ควรเซ็นชื่อในเอกสารใดๆ ที่เจ้าหน้าที่ตารวจส่งให้ท่าน ไม่ว่าจะเซ็นรับทราบ หรือ เซ็นยอมรับข้อกล่าวหา หรือเซ็นเพื่อยอมรับว่าไม่มีความเสียหายใดในการตรวจค้นครั้งนี้ก็ตามควรที่จะปรึกษาผู้รู้หรือนักกฎหมายเสียก่อน
4. ในกรณีไม่มีหมายค้น โดยอ้างว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า และ / หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ได้แจ้งความไว้กับเจ้าหน้าที่ตารวจไว้แล้ว ท่านมีสิทธิ์ปฏิเสธการตรวจค้นได้ทันที เพราะกฎหมายข้อนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีความเห็นว่ากระทาไม่ได้เพราะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตอบข้อหารือของสานักงานตารวจแห่งชาติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การกระทาดังกล่าวไม่สามารถกระทาได้ โดยรายละเอียดปรากฏตามหนังสือของสานักงานกฤษฏีกา เรื่องเสร็จที่๔๕๒/๒๕๔๖ มีใจความว่า การตรวจค้นจับกุมดังกล่าว ไม่เป็นข้อยกเว้นที่ให้อานาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจจับได้โดยไม่ต้องมี คาสั่งหรือหมายของศาล เนื่องจากมิใช่กรณีเป็นความผิดซึ่งหน้าหรือมีเหตุจาเป็นอย่างอื่นที่ให้จับ ได้ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติ
5. ในกรณีที่มีการพบการละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์
5.1 กรณีที่ท่านมีเจตนาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ก็ควรเจรจากับตัวแทนหรือ ผู้รับมอบอานาจของเจ้าของลิขสิทธิ์ (อย่าใช้ภาษากฎหมาย) โดยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ การยินยอมชดใช้ค่าเสียหายไม่จาต้องยินยอมในวันที่ถูกจับ (ถ้าหากท่านสามารถประกันตัวในวันที่ถูกจับได้) อาจจะยินยอมในวันต่อๆมา หรือ อาจเปลี่ยนเป็นสู้คดีก็ได้
5.2 กรณีที่ท่านไม่มีเจตนาที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ท่านต้องเตรียมประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีต่อไป
6. การประกันตัว
6.1 ปกติการประกันตัวหรือ ปล่อยชั่วคราว เป็นดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน หรือ เจ้าหน้าที่ตารวจชั้นผู้ใหญ่ ที่จะกาหนดวงเงินประกันตัว ในกรณีการจับกุมร้านเน็ตและเกมส์ ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ที่ผ่านมา มักจะกาหนดในวงเงิน 50,000 บาท ถึง 200,000 บาท แต่ปัจจุบันนี้ ผบ.ตร.ได้มีหนังสือกาชับหน่วยงานของตารวจ ให้ปฏิบัติตามเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยได้ ให้กาหนดจานวนเงินในการประกันตัวผู้ต้องหาด้วยเงินสด จานวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน กาหนดเงินประกันเป็นเงินสด สูงกว่า 50,000 บาท ท่านมีสิทธิ์ที่จะสอบถามและขอให้ปฏิบัติตามคาสั่งของผบ.ตร.
6.2 การประกันตัวนี้หากท่านไม่สามารถหาบุคคล หรือเงินสดมาค้าประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวได้ ท่านสามารถซื้อประกันอิสรภาพได้ ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก ซึ่งจะทาให้ท่านพ้นจากการเรียกเงินประกันจานวนมาก เพื่อบีบให้ยอมความโดยที่ท่านไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆเลย รายละเอียดตามเวปไซท์ด้านล่างนี้ (จดหมายเลขโทรศัพท์ไว้ด้วยเพื่อจาเป็นต้องใช้ในยามจาเป็น)เครดิต siambit.com ขอปิดกระทู้ครับ ขอบคุณทุกความเห็น ได้ปล่อยให้ฟ้องดีกว่า คงเสียเงิน น้อยหน่อย ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น